กระดูกสันหลังคดสามารถรักษาได้จริงหรือไม่ คำตอบคือ “ สามารถรักษาได้”
แต่ต้องพิจารณาถึงสาเหตุของการเกิดโรคด้วย กรณีที่เกิดจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การนั่งใช้คอมพิวเตอร์ การนั่งใช้โทรศัพท์ หรือนั่งดูโทรทัศน์เป็นระยะเวลานานโดยไม่เปลี่ยนท่าหรือพฤติกรรมบางอย่าง
สามารถส่งผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อไม่สมดุลกัน กระดูกข้อต่อจะทำการการขยับเพื่อปรับตัวตามความเคยชินของร่างกาย เนื่องจากเด็กวัยรุ่นมีกระดูกข้อต่อยังพัฒนายังไม่เต็มที่ จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะมีภาวะกระดูกสันหลังคด แต่ยังมีอีกสาเหตุหนึ่ง คือ พันธุกรรมและการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในช่วงตั้งครรภ์ ในกรณีนี้หากผู้ปกครองทราบตั้งแต่เด็กควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างไกล้ชิดเพื่อให้รักษาองศาของกระดูกให้เกิดองศาการคดเพิ่มน้อยที่สุด
สำหรับการรักษาในกรณีที่กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน สามารถรักษาได้และเห็นผลชัดเจนที่สุด โดยหากมีอาการไหล่ไม่เท่ากัน นั่งเอียง ควรไป
X-ray เพื่อเช็คโครงสร้างของกระดูก และเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกาย โดยเริ่มจากการคลายกล้ามเนื้อฝั่งที่อ่อนแอและฝึกให้แข็งแรงเพื่อให้กล้ามเนื้อทั้งสองฝั่งทำงานสมดุลกัน
การรักษากระดูกสันหลังคดสามารถแบ่งได้เป็น 3ระยะ
1.กระดูกคด 10-25 องศา
: แนวทางการรักษา
- ควรใช้วิธีสังเกตพฤติกรรมเบื้องต้น และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นๆ
- ออกกำลังกายปรับโครงสร้างกับผู้เชี่ยวชาญ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
- ฝึกโฟกัสกล้ามเนื้อมัดที่ถูกต้องและเข้าใจสาเหตุรวมไปถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
- สามารถฝึกจนกลับไปทำเองได้ที่บ้าน โดยควรทำทุก 2-3ครั้ง/สัปดาห์
- ติดตามอาการทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี
2.กระดูกคด 26-35 องศา
: แนวทางการรักษาจะค่อนข้างคล้ายกับการรักษาด้านบนแต่จะแตกต่างตรงที่ว่า
องศาของกระดูกอาจจะไม่สามารถกลับมาตรงได้แต่สามารถดีขึ้นได้ หากผู้ป่วยละเลยการดูแลตัวเอง องศาของกระดูกมีสิทธิที่จะคดเพิ่มมากขึ้นและยังส่งผลให้มีอาการแทรกซ้อนได้เช่นกัน
3.กระดูกคด>36 ขึ้นไป : ควรพิจารณาถึงปัจจัยหลายอย่างของผู้ป่วยเพื่อปรับโปรแกรมให้เหมาะกับการรักษา เช่น หากมีแนวโน้มการคดเร็ว เช่น เอกซเรย์พบว่าคด 45 องศา หากดูแลตัวเอง ตามขั้นตอนดังกล่าวที่กล่าวมาเบื้องต้นแต่ภายใน 1-6 เดือน เมื่อเอกซเรย์พบว่าองศาคดเยอะ 55 องศา ซึ่งถือว่ามีแนวโน้มของการคดเร็วผิดปกติ พิจารณาใส่อุปกรณ์พยุงกายภายนอก หรือ การผ่าตัด ไม่ว่าจะเลือกการรักษาวิธีไหน
ควรพิจารณาถึงปัจจัยด้านอายุทำความเข้าใจผลกระทบต่างต่างที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตเราในระยะยาว โดยควรมองหาโปรแกรมสำหรับปรับพฤติกรรมลและการออกกำลังกายปรับสรีระ ควบคู่ไปด้วย
ที่ sfitrehab เราได้เล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้จึงได้สร้างโปรแกรมสอนการออกกำลังปรับโครงสร้างสำหรับทุกกรณีที่กล่าวมาเบื้องต้น สัปดาร์ละ 2-3 ครั้งเพื่อที่จะสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ถูกมัด และ เข้าใจสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคต
โดยผู้ที่มีภาวะกระดูกสันหลังคดควรฝึกจนเชี่ยวชาญสามารถกลับไปดูแลตัวเองที่บ้านและแนะนำผู้อื่นได้โดยไม่ต้องกลัวที่จะลืมท่าที่ทางSfitrehab แนะนำ
ภาวะที่กระดูกสันหลังโค้งงอไปทางด้านใดด้านหนึ่ง และอาจมีหรือไม่มีการบิดหมุนของกระดูกสันหลังร่วมด้วย
การรักษาแบบเข้มข้น หรือ Intensive Treatment เป็นทางเลือกที่เหมาะสมและตรงจุดกับการรักษาความพิการ เพื่อให้อาการกลับมาปกติหรือใกล้เคียงปกติอีกครั้ง โดยมีระยะเวลาจำกัด ภายใน 6 เดือน
sfitrehab เราได้เล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้จึงได้สร้างโปรแกรมสอนการออกกำลังปรับโครงสร้างสำหรับทุกกรณีที่กล่าวมาเบื้องต้น สัปดาร์ละ 2-3 ครั้งเพื่อที่จะสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ถูกมัด และ เข้าใจสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคต
ในเด็กวัยรุ่นเป็นช่วงที่อ่อนไหวที่สุด เนื่องจากกระดูกข้อต่อยังอยู่ในช่วงของการเจริญเติบโต กระดูกสันหลังมีข้อต่อหลายข้อ จึงจำเป็นต้องใส่ใจเป็นพิเศษ หากเริ่มมีการคดงอ อาจส่งผลให้กระดูกสันหลังเจริญเติบโตไปผิดรูปร่างในบางคนคดเป็นตัว S และบางคนคดเป็นตัว C ซึ่งการรักษาและท่าออกกำลังกายจะไม่เหมือนกันหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รับการรักษาสามารถส่งผลกับรูปร่าง ความสูง บุคลิกภาพ และความมั่นใจอีกด้วย
Office Syndrome คือสัญญาณเตือนจากร่างกายที่บ่งบอกว่าเราอาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพในขณะทำงานเพียงพอ ด้วยการปรับปรุงพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมการทำงานของเรา รวมทั้งการใช้เทคนิคการป้องกันและการรักษาที่เหมาะสม เราสามารถลดหรือกำจัดอาการเหล่านี้ได้ ทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสุขภาพดี.
การออกกำลังกายผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุการทำงานของร่างกายไม่มีความแข๊งแรงเหมือนเดิม เราจึงควรให้ผู้เชี่ยวชาญออกแบบการรักษา