คลังความรู้


Intensive Treatment การรักษาความพิการแบบเข้มข้น

Intensive Treatment การรักษาความพิการแบบเข้มข้น

ทำไมต้อง Intensive Treatment
        โดยปกติการบำบัดรักษาทั่วไปจะเกิดขึ้นเพียง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์และกลับไปรักษาต่อที่บ้านตามคำแนะนำจากทางโรงพยาบาล ซึ่งขาดความถูกต้อง สม่ำเสมอ และไม่เพียงพอต่อการรักษา ดังนั้นผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญอย่างเข้มข้นอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ จึงจะทำให้ผู้ป่วยสามารถพัฒนาศักยภาพร่างกายของตนเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ





    ข้อดีของ Intensive Treatment

    • สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง
    • เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง และมีกำลังใจ
    • พัฒนาความก้าวหน้าให้กับผู้ป่วยได้เร็วและทันเวลา
    • ลดภาวะพึ่งพิงจากญาติ
    • ลดความเครียดและความกดดันที่เกิดกับผู้ป่วย
    • ญาติผู้ป่วยมีเวลาในการทำสิ่งอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น




    เป้าหมายการรักษาแบบ Intensive Treatment


    1.Activity of daily living (ADL) รักษาและฟื้นฟูเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจวัตรจำเป็นประจำวัน ได้ คือ
    – สุขศาสตร์ส่วนบุคคล (personal hygiene) เช่น อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน ตัดเล็บ หวีผม
    – การแต่งตัว (dressing) เป็นการเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสมและนำมาสวมใส่ได้
    – การป้อนอาหารตนเอง (feeding) คือ การตักและเลือกอาหารทานเองได้ ฝึกกลืนอาหาร
    – การจัดการธุระส่วนตัว (continence management) คือ เมื่อไรควรไปห้องน้ำ สามารถอั้นหรือปล่อย   ปัสสาวะ อุจจาระ เองได้
    – การเคลื่อนไหว (ambulating) เช่น การลุกขึ้นนั่ง การลงจากเตียงเอง การเดินไปเดินมา การขึ้นลงบันได
    2.Rehabilitation & Multi-Skills รักษาด้วยการเพิ่มความแข็งแรงให้กับผู้ป่วยจากรอยโรคที่ทำให้อ่อนแรงและเพิ่มทักษะการสั่งการของสมองให้ทำงานพร้อมกัน เช่น ฝึกเดินพร้อมพูด ฝึกจับวัตถุพร้อมแยกสี
    3.Job Skills เพิ่มทักษะเกี่ยวกับงาน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสูญเสียความสามารถด้านอาชีพที่เคยทำได้ เช่น ขับรถ ใช้คอมพิวเตอร์ งานช่างต่างๆ การรักษาจึงต้องเพิ่มการพัฒนาทักษะผู้ป่วยให้สามารถกลับมาประกอบอาชีพได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของรอยโรคที่เกิดขึ้น
    โดยเป้าหมายการรักษา จะได้ผลลัพท์ที่ดีนั้น จะเกิดขึ้นเพียง 6 เดือนหลังจากเกิดโรค หลังจากนั้นอาการบกพร่องจะเหลือติดตัวผู้ป่วยไปตลอดชีวิต





    ขั้นตอนการรักษาแบบ Intensive Treatment


            โปรแกรมการรักษาแบบเข้มข้นต้องมีการวางแผนและตั้งเป้าหมายการรักษาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็น โดยจุดเริ่มต้นคือการให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยตนเองกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น ลุกนั่ง เดิน ทานอาหาร ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องเข้าโปรแกรมรักษาอย่างน้อย 5 ชม.ต่อ 1 วัน 5 วันต่อสัปดาห์ ตามกิจกรรมดังนี้

    1. ฝึกกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงให้กลับคืนด้วยการกายภาพ
    2. ฝังเข็มเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดหรือครอบแก้วคลายกล้ามเนื้อ
    3. นวดกระตุ้นเส้นประสาทหรือนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อให้พร้อมกับการทำงาน
    4. กิจกรรมบำบัด เช่น การหยิบจับ การทานอาหาร การพูด การกลืน
    5. กิจกรรมสันทนาการบำบัด เพื่อลดความตึงเครียด
    6. ออกกำลังเสริมความแข็งแรงในส่วนที่ไม่ได้มีปัญหาเพื่อรักษา บาลานด์ของร่างกาย
    7. สร้างกิจกรรมร่วมระหว่างผู้ป่วยและทีมรักษาเพื่อประเมินและปรับแผนการรักษาในครั้งต่อไป
        



        กิจกรรมดังกล่าวจะผสมผสานสลับสับเปลี่ยนไปตามความสามารถของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน โดยส่วนใหญ่มีผลสำเร็จ 90-100% จากการกิจกรรมที่ตั้งเป้าหมายไว้ การรักษาผู้ป่วยแบบเข้มข้น จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจาก สหสาขาวิชาชีพ เพราะในขั้นตอนการรักษา ต้องใช้ศาสตร์หลายแขนงมาเกี่ยวข้อง อาทิ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักกายภาพ รีแฮปเทรนเนอร์ นักกิจกรรมบำบัด แพทย์ทางเลือก เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดของการเดินทางเพื่อไปรักษาในที่ต่างๆ อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการรักษาเนื่องจากระยะเวลามีจำกัด

            S-FIT ได้รวมศาสตร์การรักษาผู้ป่วยความพิการไว้ในที่เดียว จึงเป็น ข้อดีของการรวมศาสตร์ไว้ด้วยกัน โดยผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุดในการรักษาและสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืน



    Share
    Related posts
    ...
    โรคกระดูกสันหลังคด

    ภาวะที่กระดูกสันหลังโค้งงอไปทางด้านใดด้านหนึ่ง และอาจมีหรือไม่มีการบิดหมุนของกระดูกสันหลังร่วมด้วย

    อ่านเพิ่มเติม
    ...
    Intensive Treatment การรักษาความพิการแบบเข้มข้น

    การรักษาแบบเข้มข้น หรือ Intensive Treatment เป็นทางเลือกที่เหมาะสมและตรงจุดกับการรักษาความพิการ เพื่อให้อาการกลับมาปกติหรือใกล้เคียงปกติอีกครั้ง โดยมีระยะเวลาจำกัด ภายใน 6 เดือน

    อ่านเพิ่มเติม
    ...
    กระดูกสันหลังคดในวัยรุ่นสามารถรักษาได้จริงหรือไม่

    sfitrehab เราได้เล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้จึงได้สร้างโปรแกรมสอนการออกกำลังปรับโครงสร้างสำหรับทุกกรณีที่กล่าวมาเบื้องต้น สัปดาร์ละ 2-3 ครั้งเพื่อที่จะสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ถูกมัด และ เข้าใจสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคต

    อ่านเพิ่มเติม
    ...
    กระดูกสันหลังคดไม่รักษาเสี่ยงคดกว่าเดิม

    ในเด็กวัยรุ่นเป็นช่วงที่อ่อนไหวที่สุด เนื่องจากกระดูกข้อต่อยังอยู่ในช่วงของการเจริญเติบโต กระดูกสันหลังมีข้อต่อหลายข้อ จึงจำเป็นต้องใส่ใจเป็นพิเศษ หากเริ่มมีการคดงอ อาจส่งผลให้กระดูกสันหลังเจริญเติบโตไปผิดรูปร่างในบางคนคดเป็นตัว S และบางคนคดเป็นตัว C ซึ่งการรักษาและท่าออกกำลังกายจะไม่เหมือนกันหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รับการรักษาสามารถส่งผลกับรูปร่าง ความสูง บุคลิกภาพ และความมั่นใจอีกด้วย

    อ่านเพิ่มเติม
    ...
    รู้จักกับ Office Syndrome อาการปวดร้าวจากการทำงาน

    Office Syndrome คือสัญญาณเตือนจากร่างกายที่บ่งบอกว่าเราอาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพในขณะทำงานเพียงพอ ด้วยการปรับปรุงพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมการทำงานของเรา รวมทั้งการใช้เทคนิคการป้องกันและการรักษาที่เหมาะสม เราสามารถลดหรือกำจัดอาการเหล่านี้ได้ ทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสุขภาพดี.

    อ่านเพิ่มเติม
    ...
    หุ่นยนต์ช่วยเดินเสมือนจริง

    หุ่นยนต์ช่วยเดินเสมือนจริง (Exoskeleton)

    อ่านเพิ่มเติม
    ...
    Senior Exercise การออกกำลังกายผู้สูงอายุ

    การออกกำลังกายผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุการทำงานของร่างกายไม่มีความแข๊งแรงเหมือนเดิม เราจึงควรให้ผู้เชี่ยวชาญออกแบบการรักษา

    อ่านเพิ่มเติม