บริการของเรา


อัมพฤกษ์ อัมพาต

     อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมอง 

      สำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตจัดเป็นอาการป่วยทางสมอง ซึ่งมีสาเหตุมาจากเส้นเลือดสมองตีบหรือแตก ทำให้อ่อนแรงบางส่วนหรือขยับร่างกายไม่ได้เลยทั้งร่างกาย นอกเหนือจากการขยับร่างกายก็อาจมีในเรื่องของอาการชา พูดจาไม่รู้เรื่อง ฟังไม่เข้าใจ หรือมีปัญหาเรื่องการกลืน รวมถึงการหมดสติ


    เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 รองจากมะเร็ง และมีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองปีละ 300,000 คน เสียชีวิตจากโรคนี้ปีละ 30,000 คน ซึ่งโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองเกิดจากการที่สมองได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ อาจะเกิดจากการที่เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองตีบ หรือแตก ทำให้เซลล์สมองที่ขาดเลือด ไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงานในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

    อัมพฤกษ์-อัมพาต คืออะไร?

   อัมพฤกษ์-อัมพาต คือ โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke เป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทที่เกิดขึ้นทันทีทันใดจากเนื้อสมองขาดเลือด หรือเลือดไปเลี้ยงได้น้อยลงจากหลอดเลือดแดงที่ ตีบ, อุดตัน หรือ แตก ส่งผลให้เนื้อสมองถูกทำลาย โดยมีอาการแสดงอยู่นานกว่า 24 ชั่วโมง ส่วนในรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว (transient ischemic attack: TIA) จะมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเองภายใน 24 ชั่วโมง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้นจะมีอาการมากหรือน้อยแตกต่างกันไปขึ้นกับตำแหน่งและบริเวณของสมองที่ขาดเลือดไปเลี้ยง

ปัจจัยเสี่ยงของอัมพฤกษ์-อัมพาต (โรคหลอดเลือดสมอง)

แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น (มักพบในคนวัย 45 ปีขึ้นไป) พันธุกรรม เพศ (มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง) เชื้อชาติ เป็นต้น
  • ปัจจัยที่ควบคุมได้ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคอ้วน นอนกรน เป็นต้น

อาการแสดงสำคัญที่สุดที่ควรรู้ และควรสังเกตอย่างสม่ำเสมอ มีดังนี้

  1. ชา หรืออ่อนแรงที่หน้า แขน หรือขา ซีกใดซีกหนึ่ง อย่างทันทีทันใด
  2. พูดลำบาก พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด หรือไม่เข้าใจคำพูด อย่างทันทีทันใด
  3. มีปัญหาการมองเห็น ตามัว หรือเห็นภาพซ้อนของตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง อย่างทันทีทันใด
  4. มีอาการมึนงง เวียนศีรษะ เดินไม่ได้ เดินลำบาก เดินเซ หรือสูญเสียการทรงตัวในการยืนและเดิน อย่างทันทีทันใด
  5. ปวดศีรษะอย่างรุนแรงอย่างทันทีทันใด โดยไม่ทราบสาเหตุ

ปัจจุบันแนวทางการ รักษาฟื้นฟู ผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง ในระยะยาว คือการทำ กายภาพบำบัด ฝึกการเคลื่อนไหวของร่างกายในท่าทางที่ถูกต้อง เพื่อให้สมองเรียนรู้ จดจำ และกระตุ้นการสั่งงานของสมองที่ยังคงเหลืออยู่ ให้ทำงานทดแทนส่วนที่ตายไปครับ 

สนใจติดต่อสอบถาม
PHONE: +6691 696 6969

การรักษา
Share
เครื่องมือการรักษา
treatment
Robotic Gait training
treatment
Electrical stimulation( ES)